สรุปผลการเรียนการสอน วันที่ 19 มค. 59
- อาจารย์ให้ดูวิธีการสอน วิชามี3หน่วยกิจและแบ่งการเรียนการสอน เป็น
ทฤษฎี = 2
ปฏิบัติ = 2
ศึกษาด้วยตนเอง = 5
-มีจุดมุ่งหมาย เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจในหลักสูตรต่างๆ
-วันนี้เพื่อนได้ทำการพรีเซนต์หน้าห้องได้รู้ตัวอย่าง คือ ทำตามตัวอย่างตามแบบในสรุปบทความ เป็นการแปลข่าว (หรือรายงานออนไลน์) ต้องใีการจัดน้ำหนักฟอนต์ เส้นระหว่างขั้นห้ามเกินแนวด้านบน เลขหน้าให้ใส่ด้านล่าง และสามารถเปลี่ยนพื้นหลังสีได้
-สามารถหาข่าวหรือตะกูลฟอนต์ได้ที่ myfont เป็นฟอนต์ฟรีหรือเสียเงิน มีหลายแนวทั้งต่างประเทศและไทย
เว็บบล็อกสรุปผลการเรียนรู้รายวิชา ARTD2304 การออกแบบเพื่อการพิมพ์โดย นางสาว เบญจวรรณ จันทร์หลง
วันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2559
ฟอนต์ Luella (รายงานออนไลน์)
ฟอนต์ Luella
About
this font family
Luella
is an elegant, hand drawn vintage inspired font by Cultivated Mind. Luella has
been carefully crafted and comes in three weights (Regular/Bold/Black). This
font works perfectly with the Luella frames and ornaments sets.
เอกสารอ้างอิง https://www.myfonts.com/fonts/cultivated-mind/luella/
เอกสารอ้างอิง https://www.myfonts.com/fonts/cultivated-mind/luella/
วันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2559
ความหมายของตัวอักษรและหนังสือ
ความหมายของตัวอักษรและหนังสือ
ความหมายโดยทั่วไปตามพจนานุกรมได้ให้ความหมายที่เกี่ยวกับตัวอักษรและตัวหนังสือดังนี้
character หมายถึง ตัวอักษร , อักษร
alphabet หมายถึง อักษรเรียงตามอันดับ
type หมายถึง ตัวพิมพ์
letter หมายถึง ตัวหนังสือ,อักษร
ส่วนอาชีพนักออกแบบกราฟิกโดยตรง เรียกว่า นักออกแบบตัวอักษรเรียงพิมพ์ (typographer designer) มีหน้าที่สร้างงานออกแบบโดยการเรียงตัวอักษรเป็นสื่อ ดังนั้นศาสตร์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบตัวอักษรเรียงพิมพ์ จึงมีชื่อเรียกว่า วิชาการเรียงพิมพ์ (typography) ผู้มีหน้าที่ศึกษาด้านนี้โดยเฉพาะ
อ้างอิงโดยจากหนังสือ ปราโมทย์ แสงพลสิทธิ์
การออกแบบนิเทศศิลป์1. ปราโมทย์ แสงพลสิทธิ์
กรุงเทพ:โปรแกรมออกแบบหนังสือ คณะศิลปกรรมศาสตร์สถาบันราชภัฏสวนดุสิต 2540
ความหมายโดยทั่วไปตามพจนานุกรมได้ให้ความหมายที่เกี่ยวกับตัวอักษรและตัวหนังสือดังนี้
character หมายถึง ตัวอักษร , อักษร
alphabet หมายถึง อักษรเรียงตามอันดับ
type หมายถึง ตัวพิมพ์
letter หมายถึง ตัวหนังสือ,อักษร
ส่วนอาชีพนักออกแบบกราฟิกโดยตรง เรียกว่า นักออกแบบตัวอักษรเรียงพิมพ์ (typographer designer) มีหน้าที่สร้างงานออกแบบโดยการเรียงตัวอักษรเป็นสื่อ ดังนั้นศาสตร์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบตัวอักษรเรียงพิมพ์ จึงมีชื่อเรียกว่า วิชาการเรียงพิมพ์ (typography) ผู้มีหน้าที่ศึกษาด้านนี้โดยเฉพาะ
อ้างอิงโดยจากหนังสือ ปราโมทย์ แสงพลสิทธิ์
การออกแบบนิเทศศิลป์1. ปราโมทย์ แสงพลสิทธิ์
กรุงเทพ:โปรแกรมออกแบบหนังสือ คณะศิลปกรรมศาสตร์สถาบันราชภัฏสวนดุสิต 2540
วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2559
การสรุปผลการเรียนการสอนอาทิตย์ที่2 12/01/2559
การสรุปผลการเรียนการสอน
สรุปผลการเรียนวันแรก 12/01/2559
อาจารย์ประชิด
ทิณบุตร วิชา typefaces
design 2304
-วันนี้ได้สอบ pretest และสอบปฎิบัติเป็นการการทดสอบใช้
โปรแกรมเวกเตอร์ เป็นการออกแบบตัวอักษรในลักษณะของเรตเตอร์ริ่งดีไซน์ ของคำว่า “รักจันทรเกษม” และทำเป็นภาษาอังกฤษให้มีความหมายว่า
รักจันทรเกษม
นี่เป็นผลงานของข้าพเจ้าที่ทำในโปรแกรม Adobe Illustrator
-จากนั้นมีการสอนให้รู้จัก
google ไดร์ฟ ไว้เก็บบันทึกและไว้ส่งงานท้ายคาบ
-แจกการบ้านให้แปลความหมายที่อาจารย์ให้มา
วันพุธที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2559
ความรู้เรื่อง Font
Typeface vs Font ต่างกันตรงไหน?
Typeface คือแบบของตัวอักษร
ที่ออกแบบหรือคิดค้นขึ้นมาโดย “นักออกแบบตัวอักษร” ซึ่งในแต่ละ typeface จะมี shape ที่แตกต่างกันออกไป ส่วน Font นั้นเป็นเพียง “รูปแบบ” หรือ “ลักษณะ” หนึ่ง ของ typeface ตัวอย่างเช่น
“Helvetica Bold Condensed Italic” เป็นคนละ font กับ “Helvetica Condensed Italic” และ “Helvetica
Bold Condensed” แต่ทั้ง 3 fonts นั้น
ถือว่าอยู่ใน typeface เดียวกัน ซึ่งก็คือ “Helvetica”
พูดง่ายๆ ก็คือ typeface หมายถึง กลุ่มของ fonts ต่างๆ
ที่มี design เหมือนกัน แต่ต่างกันในแง่ของ “ความหนา(font-weight)”, “ความกว้าง(font-stretch)”
และ “ความเอียง(font-style)”
ที่มาของคำว่า “Font”
หลายๆ
คนอาจสงสัยว่าทำไมถึงเป็นเช่นนี้ บางคนอาจเข้าใจมาตลอดว่า font คือ แบบของตัวอักษร(Typeface) ถ้าอยากหายสงสัยต้องไปศึกษาที่มาของมัน “font” มาจากคำว่า
“fount” ซึ่งแปลว่า “สิ่งที่ถูกหลอม”
ในสมัยก่อน การจะพิมพ์ตัวหนังสือลงไปบนอะไรสักอย่างจะต้องใช้ “ตัวพิมพ์” ซึ่งมักจะสร้างมาจากโลหะที่เอามาหลอมลงในแม่พิมพ์
ซึ่งหมายความว่า หากเราอยากได้ตัวหนา ตัวกว้าง ตัวเอียง หรือแม้แต่ตัวขนาดใหญ่ขึ้น
เราจำเป็นจะต้องสร้าง “ตัวพิมพ์” ขึ้นมาใหม่
เพื่อมารองรับตัวอักษรแบบนั้นๆ โดยเฉพาะ และนี่เอง ที่ทำให้เราเรียก “รูปแบบ” ของตัวอักษรที่แตกต่างกันว่า “font” แต่ในปัจจุบัน ซึ่งเปลี่ยนจากยุคของโลหะมาเป็นยุค digital ทำให้ขนาดของตัวอักษรนั้นสามารถเพิ่มหรือลดได้โดยง่าย นิยามของคำว่า “font”
จึงเปลี่ยนไปเล็กน้อย เหลือแค่ความต่างกันในด้านของ ความหนา
ความกว้าง และ ความเอียง เท่านั้น
อ้างอิงจากhttp://www.siamhtml.com/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87-typeface-vs-font-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/
วันอาทิตย์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2559
การบ้านครั้งที่ 1
การบ้านครั้งที่ 1
วิชาการออกแบบตัวอักษรเพื่อการพิมพ์
การส่งผลงาน : ให้แนบไฟล์(ส่งงานเป็นไฟล์พร้อมคำอธิบายไฟล์งาน)มองเห็นคำตัดสิน :
เฉพาะอาจารย์ผู้สอนและผู้ที่ส่งงานประเภทแบบฝึกหัด:ใบงาน :
เป็นงานเดี่ยว(ส่วนบุคคล)การอนุญาตส่งงานช้า : สมาชิกสามารถส่งหลังพ้นกำหนดได้คำอธิบาย:คำชี้แจงจงแปล อ้างอิง
และสรุปประเด็น แล้วเรียบเรียงเป็นความเรียงความหมายเป็นของตนเองของคำว่า การออกแบบตัวพิมพ์( Type Design) โดยแปล
และอ้างอิงจากเอกสาร หนังสือ ตำราภาษาอังกฤษ 2 เล่ม ภาษาไทย 3
เล่ม เป็นเอกสารที่มีการตีพิมพ์เผยแพร่เท่านั้น
รวมไม่น้อยกว่า 5 เล่มหรือมากกว่า ห้ามทำสำเนาจากอินเตอร์เน็ต โดยมีการอ้างอิงแหล่งที่มาให้ถูกต้องตามรูปแบบการเขียนอ้างอิงและเขียนบรรณานุกรมเอกสารวิชาการที่ถูกต้อง
จำนวนไม่น้อยกว่า 2 หน้า บรรทัดพิมพ์เดี่ยว ( 30 บรรทัด/หน้า A4)การส่งงาน1.จัดพิมพ์ลงในไฟล์เอกสาร
googleDoc แล้วแชร์ส่งในโฟลเดอร์ที่อาจารย์แบ่งปันให้2.ส่งโพสลงบล็อกบันทึกผลการเรียนรู้ของตนเองพร้อมจัดหาภาพประกอบให้สอดคล้องกับสาระที่อ้างอิง3.จัดพิมพ์เป็นเอกสารรายงานพร้อมปกที่มีการออกแบบภาพประกอบเกี่ยวกับเนื้อและความหมาย
พิมพ์ไฟล์ด้วยโปรแกรมไมโครซอฟท์เวิร์ด พิมพ์สี-เข้าเล่มปกให้เรียบร้อย
แบบตัวพิมพ์เนื้อหาให้ใช้แบบตัวพิมพชื่อ CRU LanChand56 ขนาดตัวเนื้อหา
16 พ้อยท์ หัวเรื่อง 20 พ้อยท์
จัดหน้าพิมพ์ตามรูปแบบเอกสารวิชาการให้ถูกต้องกำหนดเวลา 1 สัปดาห์ นับแต่วันที่ 18-25 มกราคม 2558ศึกษารูแปบบและตัวอย่างการพิมพ์และการ
อ้างอิงเอกสารวิชาการได้ที่ https://sites.google.com/site/artthesis/Home/document
วันพฤหัสบดีที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2559
ความรู้เรื่องฟอนท์
ความรู้เรื่องฟอนท์
ความแตกต่างของไทป์เฟซกับฟอนต์
บุคคลทั่วไปมักใช้คำว่า ฟอนต์ (font/fount) เรียกแทนไทป์เฟซ
หรือใช้เรียกสลับกัน แต่ในความจริงแล้วมีความหมายที่แตกต่างกัน
ไทป์เฟซหมายถึงชุดตัวอักษรที่มีรูปแบบเดียวกัน ไม่ว่าจะมีขนาดใหญ่เล็กเท่าไร เช่น Arial,
Arial Bold, Arial Italic และ Arial Bold Italic ต่างเป็นไทป์เฟซคนละชนิดกัน
ส่วนฟอนต์จะหมายถึงชุดตัวอักษรที่มีทั้งไทป์เฟซและขนาดเดียวกัน ตัวอย่างเช่น Arial
12 พอยต์ก็เป็นฟอนต์หนึ่ง Arial 14 พอยต์ก็เป็นฟอนต์หนึ่ง
Arial Bold 14 พอยต์ก็เป็นอีกฟอนต์หนึ่ง เป็นต้น ในการสร้างเอกสารแบบดิจิทัล ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนขนาดฟอนต์ได้เองในคอมพิวเตอร์
ทำให้ความแตกต่างของไทป์เฟซกับฟอนต์จึงลดความสำคัญลงไป
สำหรับตระกูลหรือสกุลของตัวอักษร (font/type family) มีความหมายกว้างกว่าไทป์เฟซ กล่าวคือ
แบบตัวอักษรชื่อเดียวกันที่อาจมีรูปแบบต่างๆ กัน ถือเป็นแบบอักษรตระกูลเดียวกัน
โดยปกติจะมี 4 รูปแบบคือ roman, italic, bold, bold
italic แบบอักษรบางตระกูลอาจมี narrow, condensed หรือ black อยู่ด้วยก็ได้ ดังนั้น Arial,
Arial Bold, Arial Italic และ Arial Bold Italic ทั้งหมดเป็นแบบอักษรในตระกูล Arial ในขณะที่ Helvetica หรือ Courier ก็เป็นอีกตระกูลหนึ่ง
อ้างอิงhttps://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%9B%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%9F%E0%B8%8B
อ้างอิงhttps://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%9B%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%9F%E0%B8%8B
รูปแบบตัวอักษร
ตัวอักษรที่เราใช้งานกันอยู่ในปัจจุบันจะแบ่งออกเป็น
4 รูปแบบใหญ่ ๆ คือ
Font แบบ Serif
จะดูเป็นระเบียบ เป็นทางการ เหมาะจะใช้ในงานที่เป็นทางการ
และต้องการความน่าเชื่อถือมากๆ
Font แบบ San
Serif จะอ่านง่าย ดูทันสมัยมากกว่าแบบอื่น ๆ
เหมาะจะใช้ในงานที่ต้องการ ความทันสมัยออกแนวไม่เป็นทางการมากนัก
Font แบบ Antique
จะเหมาะกับงานที่ต้องการแสดงความชัดเจนของยุคสมัย
หรือต้องการอามรณ์ย้อยยุคนิดหน่อย
Font แบบ Script เหมาะกังานที่ไม่เป็นทางการ
ต้องการความเป็นกันเองและดูสนุกสนานมากกว่าแบบอื่นๆ หรือในบางกรณี Font แบบนี้จะใช้ในงานที่ต้องการข้อความที่ดูเหมือนเป็นลายมือเขียน
หลังจากรู้จัก Font กันดีขึ้นแล้ว
ในหัวข้อต่อไปเราจะมาพูดถึงวิธีเลือกใช้งาน Font ให้เหมาะสมกับงานออกแบบกัน
วิธีเลือก Font ไปใช้ในงานออกแบบ
การเลือก Font ไปใช้ในงานออกแบบมีข้อควรคำนึงง่าย ๆ อยู่ 2
ข้อคือ
1. ความหมายต้องเข้ากัน หมายความว่า ความหมายของคำและ Font ที่เลือกใช้ควรจะไปด้วยกันได้
เช่น คำว่าน่ารักก็ควรจะใช้ Font ที่ดูน่ารักไปด้วย
ไม่ควรใช้ Font ที่ดูเป็นทางการดังภาพตัวอย่าง
2. อารมณ์ของฟอนต์ และอารมณ์ของงานต้องไปในทิศทางเดียวกัน เช่น
งานที่ต้องการความน่าเชื่อถือก็จะเลือกใช้ Font แบบ Serif
ที่ดูหนักแน่น น่าเชื่อถือ
ส่วนงานที่ต้องการความฉูดฉาดอย่างโปสเตอร์ลดราคาก็ควรจะเลือกใช้ Font ที่เป็นกันเองไม่เป็นทางการมากนักอย่าง Font ในกลุ่ม
Script เป็นต้น
นอกจากการเลือก Font มาใช้งานแล้ว
การวางตำแหน่งตัวอักษรก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่มีความสำคัญกับการทำงาน
สำหรับการวางตำแหน่งตัวอักษร มีข้อควรคำนึงถึงไว้ให้อยู่ 3 ข้อคือ
ธรรมชาติการอ่านของคนไทยจะอ่านจากซ้ายไปขวา
และบนลงล่าง โดยมีรัศมีการกวาดสายตาตามลำดับ ดังนั้นถ้าอยากให้อ่านง่าย
ควรจะวางเรียงลำดับให้ดีด้วย
ไม่เช่นนั้นจะเป็นการอ่านข้ามไปข้ามมาทำให้เสียความหมายของข้อความไป
จุดเด่นควรจะมีเพียงจุดเดียว
หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ มีตัวอักษรตัวใหญ่ๆ อยู่เพียงชุดเดียว
จึงจะเป็นจุดเด่นที่มองเห็นได้ง่าย ไม่สับสน ส่วนจุดอื่น ๆ ขนาดควรจะเล็กลงมาตามลำดับความสำคัญ
ไม่ควรใช้ Font หลากหลายรูปแบบเกินไป
จะทำให้กลายเป็นงานที่อ่านยากและชวนปวดศรีษะมากกว่าชวนอ่าน ถ้าจำเป็นจริง ๆ
แนะนำให้ใช้ Font เดิมแต่ไม่ตกแต่งพวกขนาด, ความหนาหรือกำหนดให้เอียงบ้าง
เพื่อเพิ่มความน่าสนใจไม่ให้งานดูน่าเบื่อแบบนี้จะดีกว่า
อ้างอิงhttp://www.km-web.rmutt.ac.th/?p=315
อ้างอิงhttp://www.km-web.rmutt.ac.th/?p=315
สรุปผลการเรียนวันแรก 5/01/2016
การสรุปผลการเรียนการสอน
สรุปผลการเรียนวันแรก 5/01/2559
อาจารย์ประชิด ทิณบุตร วิชา typefaces design 2304
การเรียนการสอน
-อาจารย์ให้สมัคร gmail ใหม่
คือ benjawanchanlong.gmail.com
-สมัคร blogspot
คือ http://artd2304-benjawanchan.blogspot.com/
และได้แนะแนววิธีการเรียนออกแบบตัวอักษร มีการแนะแนวแนวทางการหาไอเดียใหม่ๆ ในการออกแบบ มีเว็บต่างๆๆที่แนะนำสามารถเปิดโลกกระทัตใหม่ๆๆได้ และยังสอนลิขสิทธิ์ในการออกแบบทำให้เราระมัดระวังในการทำงานออกแบบได้
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)